เว็บบล็อกเเสดงผลการเรียนรู้วิชา ARTD2307-Corporate ldentity Design การออกเเบบอัตลักษณ์ โดย น.ส.ภัทรานิษฐ์ ชัยศร ของท่าน ผศ.ประชิด ทิณบุตร

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลของพื้นที่จังหวัดลพบุรี

ประวัติจังหวัดลพบุรี

ลพบุรี เป็นเมืองที่มีแห่งความหลากหลาย และต่อเนื่องของความเจริญทางวัฒนธรรมยาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์   มีหลักฐานสำคัญแสดงถึงความเจริญ ดังกล่าว ได้แก่                        


  • การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์พร้อมภาชนะดินเผา  ที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค  อายุระหว่าง 3,500-4,500  ปี
  • การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่  ที่บ้านโคกเจริญ  อายุระหว่าง 2,700-3,500  ปี
  • การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคสำริด  ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่  อายุระหว่าง 2,300 - 2,700 ปี
  • การขุดพบชุมชนโบราณในสมัยทวารวดี  ที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง  เมืองโบราณดงมะรุม อ.โคกสำโรง  เมืองใหม่ไพศาลี  ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,000 ปี
  • การพบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น เหรียญทำด้วยเงิน มีลายดุนเป็นรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ตามคตินิยมของที่ต.หลุมข้าว  อ.โคกสำโรง


       การพบหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ แสดงว่า  ลพบุรี  เป็นที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ในส่วนของการ สร้างเมืองลพบุรีนั้น  ตามประวัติศาสตร์ในพงศาวดารโยนก  กล่าวว่า  ผู้สร้างเมืองลพบุรีหรือที่เรียกว่า "ละโว้" ในสมัยโบราณ คือ "พระเจ้ากาฬวรรณดิษ" ราชโอรสแห่งพระเจ้ากรุงขอม  ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1002 และเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยทวารวดีเคยอยู่ใต้อำนาจของมอญและขอม  จนกระทั่งในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ คนไทยเริ่มมีอำนาจในดินแดนแถบนี้  ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  ลพบุรีดำรงฐานะเป็นเมืองลูกหลวง  กล่าวคือ  พระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี  ซึ่งพระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม คูเมืองและสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตในปีพ.ศ.1912  พระราเมศวรได้ถวายราชบัลลังค์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์  ซึ่งได้ครองราชย์ พระนามว่า  พระบรมราชาธิราชที่ 1  ส่วนพระ ราเมศวรยังคงครองเมืองลพบุรีต่อไปจนถึง พ.ศ.1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา


        หลังจากนั้น  เมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลง  จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เมืองลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งนี้สืบเนื่องจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดาที่ติดต่อ  ค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาไม่ปลอดภัยจากการปิดล้อมและระดมยิงของข้าศึกยามเกิดศึกสงคราม  จึงได้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ขึ้น  เพราะเมืองลพบุรีมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เหมาะสมซึ่งในการสร้างเมืองลพบุรีนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้รับความช่วยเหลือจากช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน  ได้สร้างพระราชวังที่มีป้อมปราการเป็นแนวป้องกันอย่างมั่นคง  ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดประทับที่เมืองลพบุรี  ตามหลักฐานปรากฏว่า  พระองค์ประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี ปีละ 8-9 เดือน  โปรดให้ทูตและชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าที่เมืองลพบุรีหลายครั้ง


         เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคต ในปี พ.ศ.2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์  เมืองลพบุรีก็หมดความสำคัญลง  สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้ายหน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุงศรี อยุธยา  และในสมัยต่อมาก็ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดเสร็จมาประทับที่เมืองลพบุรีอีก จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะเมืองลพบุรีขึ้นมาอีกครั้งในปีพ.ศ.2406  มีการซ่อมกำแพงเมือง ป้อมและประตู  รวมทั้งมีการสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎในพระราชวัง  พร้อมทั้งพระราชทานนามพระราชวังว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์" ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

        ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้มีการวางผังเมืองใหม่และตั้งหน่วยทหารขึ้นมาในเมืองลพบุรี  ลพบุรีจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองทหารเพราะมีหน่วยทหารตั้งอยู่ถึง 11 หน่วย  ลพบุรีในปัจจุบันจึงเป็น "เมืองเศรษฐกิจ  เมืองท่องเที่ยวและเมืองทหาร"



สัญลักษณ์จังหวัดลพบุรี

ตราประจำจังหวัดลพบุรี

ตราประจำจังหวัดลพบุรี

รูปพระนารายณ์ประทับเหนือพระปรางค์สามยอด หมายถึง การระลึกถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ผู้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2208 และสร้างความเจริญให้กับแผ่นดินลพบุรีนับเอนกอนันต์
ส่วนพระปรางค์สามยอดเป็นโบราณสถานที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลพบุรี

คำขวัญประจำจังหวัดลพบุรี

วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง
เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์

ดอกไม้ประจำจังหวัดลพบุรี

ดอกพิกุล
ดอกพิกุล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น