เว็บบล็อกเเสดงผลการเรียนรู้วิชา ARTD2307-Corporate ldentity Design การออกเเบบอัตลักษณ์ โดย น.ส.ภัทรานิษฐ์ ชัยศร ของท่าน ผศ.ประชิด ทิณบุตร

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ข้อมูลของพื้นที่จังหวัดลพบุรี

ประวัติจังหวัดลพบุรี

ลพบุรี เป็นเมืองที่มีแห่งความหลากหลาย และต่อเนื่องของความเจริญทางวัฒนธรรมยาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์   มีหลักฐานสำคัญแสดงถึงความเจริญ ดังกล่าว ได้แก่                        


  • การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์พร้อมภาชนะดินเผา  ที่แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค  อายุระหว่าง 3,500-4,500  ปี
  • การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินใหม่  ที่บ้านโคกเจริญ  อายุระหว่าง 2,700-3,500  ปี
  • การขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคสำริด  ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่  อายุระหว่าง 2,300 - 2,700 ปี
  • การขุดพบชุมชนโบราณในสมัยทวารวดี  ที่เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง  เมืองโบราณดงมะรุม อ.โคกสำโรง  เมืองใหม่ไพศาลี  ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,000 ปี
  • การพบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น เหรียญทำด้วยเงิน มีลายดุนเป็นรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ตามคตินิยมของที่ต.หลุมข้าว  อ.โคกสำโรง


       การพบหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ แสดงว่า  ลพบุรี  เป็นที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ในส่วนของการ สร้างเมืองลพบุรีนั้น  ตามประวัติศาสตร์ในพงศาวดารโยนก  กล่าวว่า  ผู้สร้างเมืองลพบุรีหรือที่เรียกว่า "ละโว้" ในสมัยโบราณ คือ "พระเจ้ากาฬวรรณดิษ" ราชโอรสแห่งพระเจ้ากรุงขอม  ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1002 และเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยทวารวดีเคยอยู่ใต้อำนาจของมอญและขอม  จนกระทั่งในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ คนไทยเริ่มมีอำนาจในดินแดนแถบนี้  ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  ลพบุรีดำรงฐานะเป็นเมืองลูกหลวง  กล่าวคือ  พระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรี  ซึ่งพระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม คูเมืองและสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตในปีพ.ศ.1912  พระราเมศวรได้ถวายราชบัลลังค์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์  ซึ่งได้ครองราชย์ พระนามว่า  พระบรมราชาธิราชที่ 1  ส่วนพระ ราเมศวรยังคงครองเมืองลพบุรีต่อไปจนถึง พ.ศ.1931 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา


        หลังจากนั้น  เมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลง  จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เมืองลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งนี้สืบเนื่องจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดาที่ติดต่อ  ค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาไม่ปลอดภัยจากการปิดล้อมและระดมยิงของข้าศึกยามเกิดศึกสงคราม  จึงได้สร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ขึ้น  เพราะเมืองลพบุรีมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เหมาะสมซึ่งในการสร้างเมืองลพบุรีนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้รับความช่วยเหลือจากช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน  ได้สร้างพระราชวังที่มีป้อมปราการเป็นแนวป้องกันอย่างมั่นคง  ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดประทับที่เมืองลพบุรี  ตามหลักฐานปรากฏว่า  พระองค์ประทับอยู่ที่เมืองลพบุรี ปีละ 8-9 เดือน  โปรดให้ทูตและชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าที่เมืองลพบุรีหลายครั้ง


         เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคต ในปี พ.ศ.2231 ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์  เมืองลพบุรีก็หมดความสำคัญลง  สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้ายหน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุงศรี อยุธยา  และในสมัยต่อมาก็ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดเสร็จมาประทับที่เมืองลพบุรีอีก จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะเมืองลพบุรีขึ้นมาอีกครั้งในปีพ.ศ.2406  มีการซ่อมกำแพงเมือง ป้อมและประตู  รวมทั้งมีการสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎในพระราชวัง  พร้อมทั้งพระราชทานนามพระราชวังว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์" ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

        ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้มีการวางผังเมืองใหม่และตั้งหน่วยทหารขึ้นมาในเมืองลพบุรี  ลพบุรีจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองทหารเพราะมีหน่วยทหารตั้งอยู่ถึง 11 หน่วย  ลพบุรีในปัจจุบันจึงเป็น "เมืองเศรษฐกิจ  เมืองท่องเที่ยวและเมืองทหาร"



สัญลักษณ์จังหวัดลพบุรี

ตราประจำจังหวัดลพบุรี

ตราประจำจังหวัดลพบุรี

รูปพระนารายณ์ประทับเหนือพระปรางค์สามยอด หมายถึง การระลึกถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ผู้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2208 และสร้างความเจริญให้กับแผ่นดินลพบุรีนับเอนกอนันต์
ส่วนพระปรางค์สามยอดเป็นโบราณสถานที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลพบุรี

คำขวัญประจำจังหวัดลพบุรี

วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง
เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์

ดอกไม้ประจำจังหวัดลพบุรี

ดอกพิกุล
ดอกพิกุล


ลิขสิทธิ์ เเละ เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์ เเละ เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง
เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)

    เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้          1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส  มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด  เป็นต้น
 
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol)
ปัจจุบันผู้ประกอบการค้า  ได้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องมือนำทางการค้า  ทั้งภายในประเทศและการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ  เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงมีความจำเป็นต้องจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิในประเทศต่าง ๆ ก่อนส่งสินค้าไปจำหน่าย   เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้า  และมิให้ผู้ใดนำเครื่องหมายการค้าของตนไปจดทะเบียนในต่างประเทศโดยมิได้เป็นเจ้าของ  กรมทรัพย์สินทางปัญญา  ได้มีนโยบายในการส่งเสริมการให้บริการขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศด้วยความสะดวก  รวดเร็ว  และประหยัดค่าใช้จ่าย  ด้วยการศึกษาแนวทางการเข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol)
หากประเทศไทย เข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกของไทยก็จะได้รับประโยชน์ที่จะสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ได้ หลายประเทศในคราวเดียวกัน  โดยยื่นคำขอจดทะเบียนเพียงคำขอเดียว ใช้เพียงภาษาเดียว(อังกฤษ  ฝรั่งเศส หรือสเปน)  และเสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว  ซึ่งก็จะทำให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการยื่นคำขอจดทะเบียน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย
ขั้นตอนการจดทะเบียน
การยื่นคำขอ
ให้ยื่นต่อสำนักงานระหว่างประเทศ (International Bureau)  ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO)  โดยยื่นผ่านสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิดของประเทศผู้ขอ  ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบและรับรองว่าเครื่องหมายที่ยื่น  สินค้าและ/หรือบริการที่ระบุ  เหมือนกับคำขอรากฐาน (Basic Application)  หรือทะเบียนรากฐาน (Basic Registration)
   คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จะนำไปยื่นขอจดทะเบียนระหว่างประเทศตามพิธีสารกรุงมาดริดได้นั้น  ต้องเป็นคำขอที่มีการยื่นขอจดทะเบียน หรือได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในประเทศต้นกำเนิด
การจดทะเบียน  การจดทะเบียนแบ่งออกเป็น  2 ขั้นตอน คือ
1.  ขั้นตอนระหว่างประเทศ
เมื่อสำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอจดทะเบียน จะดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้น (Formal Examination)  ในเรื่องความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของพิธีสารกรุงมาดริดและกฎข้อบังคับพิธีสารกรุงมาดริด (Common Regulations)  การระบุจำพวกและรายการสินค้าและ/หรือบริการ ว่าเป็นไปตาม Nice Classification  หรือไม่  รวมทั้งการชำระค่าธรรมเนียม หากมีข้อบกพร่อง  สำนักงานระหว่างประเทศจะแจ้งไปยังประเทศที่มีการยื่นคำขอและผู้ยื่นคำขอ  ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอจะต้องแก้ไขภายใน 3 เดือน มิฉะนั้นจะถือว่าละทิ้งคำขอ
2.  ขั้นตอนในประเทศ
    เมื่อประเทศภาคีที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะได้รับความคุ้มครองได้รับคำขอแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบคำขอดังกล่าวตามขั้นตอนปกติที่ใช้สำหรับการตรวจสอบคำขอที่ยื่นในประเทศ  โดยจะตรวจสอบเนื้อหาสาระ (Substantive Examination)  โดยตรวจสอบตามกฎหมายภายในของตน เช่น ตรวจสอบความเหมือนคล้าย ลักษณะบ่งเฉพาะหรือลักษณะต้องห้าม เป็นต้น หากมีข้อบกพร่องต้องดำเนินการแก้ไขตามกฎหมายภายในของประเทศนั้น ๆ
  หากมีเหตุที่ต้องปฏิเสธการรับจดทะเบียน  จะต้องแจ้งให้สำนักงานระหว่างประเทศทราบภายในกำหนด 12 เดือน หรือ 18 เดือน หรือหลังจากนั้น (กรณีมีคำร้องคัดค้าน)มิฉะนั้นจะถือว่าเครื่องหมายดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนในประเทศที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว
วันจดทะเบียน มี 2 กรณี ดังนี้
  1)  คือวันยื่นคำขอจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิด หากคำขอดังกล่าวถึงสำนักงานระหว่างประเทศภายใน 2 เดือน
  2)  หากเกิน 2 เดือน ให้ถือวันที่สำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอเป็นวันจดทะเบียน
อายุความคุ้มครอง
  10 ปี นับตั้งแต่วันรับจดทะเบียน และต่ออายุได้อีกคราวละ 10 ปี การต่ออายุสามารถต่ออายุได้ก่อนวันสิ้นอายุ 6 เดือน หรือหลังสิ้นอายุแล้วภายใน 6 เดือนก็ได้  แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมเบื้องต้น (Basic fee)  ทั้งนี้ สามารถต่ออายุเฉพาะบางประเทศ หรือทุกประเทศที่ได้รับความคุ้มครองก็ได้                 
ค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศมี 4 ประเภท คือ
  1)  Basic fee  เป็นค่าธรรมเนียมเบื้องต้นสำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศหนึ่งคำขอ
         -  เครื่องหมายขาว-ดำ 653  สวิสฟรังค์
         -  เครื่องหมายที่เป็นสี 903  สวิสฟรังค์
    2)  Supplementary fee  เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับจำพวกสินค้าและ/หรือบริการ  ที่ยื่นขอจดทะเบียนเกิน 3 จำพวก โดยเสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่จำพวกที่ 4 ขึ้นไป  จำพวกละ 73 สวิสฟรังค์                            
    3)  Complementary fee  เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับประเทศที่ระบุเพื่อขอจดทะเบียน ประเทศละ  73  สวิสฟรังค์
    4)  Individual fee  เป็นค่าธรรมเนียมเฉพาะประเทศ


เว็บและแอฟพลิเคชั่นที่แนะนำในการค้นหาฟอนต์

 https://www.myfonts.com/WhatTheFont/
https://www.myfonts.com/WhatTheFont/
http://software.thaiware.com/9524-WhatFont-App.html

วิสาหกิจชุมชน คือ อะไร

             วิสาหกิจชุมชน คือ อะไร       

         วิสาหกิจชุมชน  คือ  กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า  การให้บริการ  หรือการอื่น ๆ  ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพันกัน  มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการ  เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว  ชุมชนและระหว่างชุมชน

         เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  คือ  คณะบุคคลที่รวมตัวกัน  โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเครือข่าย

 
เป็นวิสาหกิจชุมชนแล้วได้อะไร ?

                      ได้รับการรับรองตามกฎหมาย
                      ได้รับประเมินศักยภาพ  ทำให้ทราบระดับความเข้มแข็งและความต้องการที่แท้จริง  สามารถวางแผนพัฒนาตนเองได้ตามความพร้อมของตน
                      มีสิทธิได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากิจการวิสาหกิจชุมชนตามที่คณะกรรมการฯ  กำหนดและตรงกับความต้องการของชุมชน

ไม่เป็นวิสาหกิจชุมชนแล้วเสียอะไร ?
                      การรวมกลุ่มไม่ได้รับการรองรับตามกฎหมาย
                      ไม่สามารถขอรับการส่งเสริม  สนับสนุนตาม  พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  พ.ศ.  2548

การยื่นจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน
                      รวมกลุ่มคนในชุมชน  ไม่น้อยกว่า  7  คน  และไม่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน
                      กลุ่มคนที่รวมตัวกันต้องมีความตั้งใจประกอบอาชีพร่วมกัน  1  อย่าง  หรือหลายอย่าง         
                      ร่วมกันจัดทำแผนวิสาหกิจชุมชน  หรือกิจการของวิสาหกิจชุมชนที่มีความสอดคล้องกับแผนชุมชน

ในการยื่นจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนต้องเตรียมหลักฐานดังนี้
              กรณีไม่เป็นนิติบุคคล
                      หนังสือให้ความยินยอมของสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง  หรือสำเนามติที่ประชุมมอบหมายบุคคลมาจดทะเบียน
                      สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจทำการแทน        
                      ทะเบียนรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกพร้อมสำเนาบัตรประชาชน
                      สำเนาข้อบังคัญของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  (เฉพาะกรณีจดทะเบียนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน)

              กรณีเป็นนิติบุคคล
                      สำเนาเอกสารแสดงวัตถุประสงค์  ระเบียบ  หรือขัอบังคับของนิติบุคคล
                      สำเนาบัญชีรายชื่อคณะกรรมการดำเนินการ
                 สำเนามติคณะกรรมการดำเนินการหรือมติที่ประชุมใหญ่ให้จดทะเบียน
                 ทะเบียนรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิก
                 สำเนาข้อบังคับของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน  (เฉพาะกรณีจดทะเบียนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน)

ในแบบคำขอจดทะเบียนต้องการข้อมูล  ดังนี้
                  
    ชื่อวิสาหกิจชุมชนหรือเครือข่ายฯ  ที่ขอจดทะเบียน
                      ที่ตั้ง
                 ชื่อที่อยู่ของสมาชิกผู้มีอำนาจทำการแทน
                 จำนวนสมาชิก
                 กิจการ/กิจกรรมที่ประสงค์จะดำเนินการ

วงรี: ขั้นตอนการจดทะเบียน
                                                               
วิสาหกิจชุมชนมอบหมายสมาชิกเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนเพื่อยื่นคำขอ
รับแบบจดทะเบียน  (สวช.01)
ยื่นแบบพร้อมเอกสาร
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐาน  มอบใบรับรองเรื่อง  (ท.ว.ช.1)

นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสาร

ไมีมีผู้คัดค้าน          ปิดประกาศ  7  วัน
ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน  (ท.ว.ช.2)

และเอกสารสำคัญแสดงการดำเนินกิจการ  (ท.ว.ช.3)

 จดทะเบียนได้ที่

ความหมายของสมุนไพร

สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจาก ธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติ สัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึง เฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น


สมุนไพร เป็นยาพื้นบ้านแผนโบราณของไทยมาแต่อดีต ความนิยมในการใช้สมุนไพรได้ลดถอยลงไปบ้าง เมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ และเภสัชศาสตร์สมัยใหม่จากตะวันตกเข้ามามีอิทธิพล แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันสมุนไพร กลับมาได้รับความนิยมกันมาก ในเมืองไทย และโลกตะวันตก ต่างประเทศกำลังหาทางเข้ามาลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรนำไปใช้สกัดหาตัวยาเพื่อ รักษาโรคบางชนิด มีหลายประเทศนำสมุนไพรไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทย

สมุนไพร เป็นพืชอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีการปลูกใช้ประโยชน์มานานแล้ว เพราะบางชนิดสามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร ให้คุณค่าทางอาหารและยังให้รสชาติที่ทำให้เจริญอาหาร สมุนไพรหลายชนิดยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ช่วยย่อย อาหาร แก้อาการท้องอึด ท้องเฟ้อ ในอดีตการปลูกสมุนไพรมักกระทำกันในลักษณะการปลูกผักสวนครัว ริมรั้ว หลังบ้าน ตามที่ว่างเปล่า จะใช้ประโยชน์เมื่อใดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที แต่ในระยะหลังเนื่องจากมีประชากรมากขึ้น และ ส่วนหนึ่งได้เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ที่มักมีพื้นที่บ้านเรือนจำกัด ไม่มีพื้นที่ว่างเพียงพอกับการปลูกผักสวนครัวต่าง ๆ พืชผักเพื่อการบริโภคทุกอย่างต้องได้จากการซื้อหา เมื่อมีความต้องการซื้อ จึงมีผู้หันมาปลูกผักสมุนไพรขายกันมากขึ้น นอกจากนี้สมุนไพรบางอย่างที่มีสรรพคุณเป็นยา สามารถนำมาสกัดเอาสารที่มีอยู่ภายในมาใช้ทำยาสมุนไพร หรือนำไป เป็นส่วนประกอบของของใช้เพื่อการอุปโภคในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน แชมพูสระผม ครีมนวดผม ครีมบำรุงผิว น้ำหอม ยาดม น้ำมันหอมระเหย ฯลฯ ด้วยประโยชน์ของสมุนไพรมีมากมายดังที่กล่าวมาแล้ว ความต้องการใช้สมุนไพร จึงมีมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในระยะหลังที่คนเริ่มตื่นตัวในเรื่องพิษภัยอันตรายจากสารเคมี และหันมาให้ความสนใจ ต่อสารที่สกัดจากธรรมชาติกันมากขึ้น ยิ่งทำให้ความต้องการใช้สมุนไพรยิ่งมีมากขึ้นตามลำดับ การปลูกสมุนไพรขาย จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งซึ่งมีอนาคตที่ดี ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการปลูกสมุนไพร ก็คือมักจะไม่ค่อยมีโรค-แมลงรบกวน จึงใช้ สารเคมีเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่ต้องใช้เลย ทำให้ประหยัดต้นทุนในส่วนนี้ลงได้

ประวัติของการใช้สมุนไพร

สมุนไพร คือ ของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ มนุษย์เรารู้จักใช้สมุนไพรในด้านการบำบัดรักษาโรค นับแต่ยุคนีแอนเดอร์ทัลในประเทศอิรัก ปัจจุบันที่หลุมฝังศพพบว่ามีการใช้สมุนไพรหลายพันปีมาแล้วที่ชาวอินเดียแดง ในเม็กซิโก ใช้ต้นตะบองเพชร( Peyate) เป็นยาฆ่าเชื้อและรักษาบาดแผลปัจจุบันพบว่าตะบองเพชรมีฤทธิ์กล่อมประสาท
ประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ที่ชาวสุเมเรียนได้เข้ามาตั้งรกราก ณ บริเวณแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสปัจจุบัน คือ ประเทศอิรัก ใช้สมุนไพร เช่น ฝิ่น ชะเอม ไทม์ และมัสตาร์ด และต่อมาชาวบาบิโลเนียน ใช้สมุนไพรเพิ่มเติมจากชาวสุเมเรียน ได้แก่ใบมะขามแขก หญ้าฝรั่น ลูกผักชี อบเชย และกระเทียม
ในยุคต่อมาอียิปต์โบราณมี อิมโฮเทป แพทย์ผู้มีชื่อเสียงซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรค ของอียิปต์ มีตำราสมุนไพรที่เก่าแก่ คือ Papytus Ebers ซึ่งเขียนเมื่อ 1,600 ปี ก่อนคริสตศักราช ซึ่งค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวเยอรมันนี ชื่อ Georg Ebers ในตำรานี้ได้กล่าวถึงตำราสมุนไพรมากกว่า 800 ตำรับ และสมุนไพรมากกว่า 700 ชนิด เช่น ว่านหางจระเข้ เวอร์มวูด( warmwood) เปปเปอร์มินต์ เฮนเบน( henbane) มดยอบ , hemp dagbane ละหุ่ง mandrake เป็นต้น รูปแบบในการเตรียมยาในสมัยนั้น ได้แก่ การต้ม การชง ทำเป็นผง กลั่นเป็นเม็ดทำเป็นยาพอกเป็นขี้ผึ้ง
นอกจากนี้ยังพบว่า ชาติต่างๆ ในแถบยุโรปและแอฟริกา มีหลักฐานการใช้สมุนไพร ตามลำดับก่อนหลังของการเริ่มใช้สมุนไพร คือ หลังจากสมุนไพรได้เจริญรุ่งเรืองในอียิปต์แล้ว ก็ได้มีการสืบทอดกันมา เช่น กรีก โรมัน อาหรับ อิรัก เยอรมัน โปรตุเกส สวีเดน และโปแลนด์
ส่วนในแถบเอเซีย ตามบันทึกประวัติศาสตร์พบว่ามีการใช้สมุนไพรที่อินเดียก่อน แล้วสืบทอดมาที่จีน มะละกา และประเทศไทย

ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย

ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืช นานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีอยู่มากมายเป็นแสนๆ ชนิด ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิด ถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ รากฐานของวิชาสมุนไพรไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่ เพราะตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยได้อพยพถิ่นฐานมาจากบริเวณเทือกเขา อัลไตน์ประเทศจีน มาจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน จึงมีส่วนได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ตลอดจนการบำบัดรักษาโรคจากประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้อาศัยคัมภีร์อายุรเวทของอินเดียเป็นบรรทัดฐาน คือ การวินิจฉัยโรค ชื่อสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคมีเค้าชื่อของภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ไม่น้อย เช่นคำว่า มะลิ (ภาษาสันสกฤตว่า มัลลิ) เป็นต้น
มีผู้ประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้ใช้สมุนไพรในประเทศเป็น มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท (สมุนไพรเหล่านี้ได้มาจากทั้งในประเทศ และนำเข้าจากนอกประเทศโดยเฉพาะ จีน เกาหลี และอินเดีย) ทั้งนี้เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้ต้องมีการรณรงค์ให้มีการปลูกเป็นสวนสมุนไพรขึ้น ในปีพุทธศักราช 1800 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งนับเป็นยุคทองของสมุนไพรไทย สวนป่าสมุนไพรของพระองค์ใหญ่โตมากอยู่บนยอดเขาคีรีมาศ อ.คีรีมาส จ.สุโขทัย มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ ซึ่งปัจจุบันยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ เป็นป่าสงวนเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของผู้ที่สนใจ ต่อมาในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นว่าสมุนไพรเป็นทั้งยาและอาหารประจำครอบครัว ชาติจะเจริญมั่นคงได้ก็ด้วยครอบครัวเล็กๆ ที่มีความมั่นคงแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิตใจ จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ สวนสมุนไพรขึ้นในประเทศในปีพุทธศักราช 2522 โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมศึกษาค้นคว้า ในเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการทางชีววิทยา ทางการแพทย์ การบำบัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพืชที่เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดโครงการพระราช ดำริ สวนป่าสมุนไพรขึ้นมากมายหลายแหล่ง อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อหาสาระสำคัญของสมุนไพรที่มีพิษ ทางเภสัชมาสกัดเป็นยาแทนยาสังเคราะห์ที่ใช้กันในปัจจุบัน
คนไทยไม่เพียงแต่ใช้พืชสมุนไพร เป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพร

ยาสมุนไพร

นั้นมีมานานแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการกล่าวขาน บันทึกเรื่องราว และใช้สืบ ทอดกันมา สมุนไพรเป็น ยารักษาโรคที่ได้ตาม ธรรมชาติหาได้ง่าย ใช้รักษาได้ผลดี มีพิษน้อย และสมุนไพรหลายชนิด เราก็ใช้เป็นอาหารประจำวัน อยู่แล้ว เช่น ขิง ข่า กระเทียม ตะไคร้ กระเพรา เป็นต้น ชีวิตประจำวันเราผูกพันกับสมุนไพรทั้งในรูปของอาหารและเป็น ยารักษาโรค พืชแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติ หรือสรรพคุณในการรักษาแตกต่างกันตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้ว ยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า ” เภสัชวัตถุ” พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า “เครื่องเทศ”